วรรณิดาเหล็กดัดอินเตอร์ ผลิตจำหน่ายและติดตั้ง
เหล็กดัดหน้าต่างครอบในพร้อมมุ้งบานเลื่อนอยู่ในชุดเดียวกัน สามารถติดตั้งด้านในตัวบ้านได้กับชนิดหน้าต่างทุกประเภท ระบบรองรับสักหลาดบานเลื่อนกันยูงกันแมลงล้อมรอบทิศทาง มั่นใจปลอดภัยจากยูงและแมลงมารบกวน วัสดุและอุปกรณ์สรรค์สร้างจากแนวคิด ภายใต้สิทธิบัตร วรรณิดาเหล็กดัดอินเตอร์ WND
เหล็กดัดประตูบานเลื่อน-บานเปิด ชุดครอบในพร้อมมุ้ง สามารถติดตั้งด้านในตัวบ้านได้กับชนิดประตูทุกประเภท ระบบรองรับสักหลาดกันยูงกันแมลงชนิดเสริมพิเศษล้อมรอบ ไม่ใช้ยางกันยุงแม้แต่ชิ้นเดียว
ด้วยความชำนาญและประสบการณ์สะสมมากว่า 30 ปี เราได้คิดค้นและพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าเหล็กดัดครอบในพร้อมมุ้งอยู่ในชุดเดียวกันทั้งหน้าต่างและประตู เราได้คัดสรรวัสดุอุปกรณ์ระดับเกรด A ทุกชนิดและกระบวนการกรรมวิธีการผลิตที่ได้มาตรฐาน เจ้าแรกในประเทศไทยที่ทำเหล็กดัดสีอบหรือสี POWDER TEC (COLOR CHARTS) และเป็นเจ้าแรกเจ้าเดียวที่ผลิตเหล็กดัดหน้าต่างครอบในพร้อมมุ้งบานเลื่อนอยู่ในชุดเดียวกัน
ทางร้านยินดีให้บริการและให้คำปรึกษาพร้อมออกเอกสารใบเสนอราคาฟรีตามเงื่อนไขของร้าน ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ 02-905-3699
1.การตัดประกอบโครงสร้างของเหล็กดัดและการขึ้นแบบลายเหล็กดัด(ลายแนวขวางแบบเหล็กสอดรู)
เหล็ก ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของการผลิตเหล็กดัด ทางร้านใช้เป็นเหล็กเพลาขาว ที่เป็นเหล็กที่ดีที่สุดในการผลิตเหล็กดัด ข้อแตกต่างจากเหล็กเส้นทั่วไปคือ ผิวเรียบ มีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กเส้นทั่วไป ด้วยองค์ประกอบของแร่ต่างๆที่เพิ่มลงไปในเนื้อเหล็กแล้วทำการรีตเย็นอีกครั้ง ทำให้เหล็กมีความแข็งแรงและผิวเรียบสม่ำเสมอ เหมาะอย่างยิ่งกับการทำสี Powder Coatings หรือ สีอบอุตสาหกรรม เพราะถ้าใช้เหล็กเส้นทั่วไป เวลาอบสีออกมาเนื้องานจะเป็นฟองอากาศหรือตามดนั่นเอง
เหล็กเพลาขาว มี 2 แบบ ทั้งแบบกลมและแบบเหลี่ยม
ในการขึ้นแบบเหล็กดัดลายแนวขวางหรือเหล็กดัดลายโมเดิร์น ทางร้านใช้แบบเหล็กสอดรู ซึ่งจะทำให้งานเหล็กดัดดูไม่ค่อยเห็นรอยเชื่อมมากนัก ทำให้งานออกมาค่อยข้างสวยและเรียบร้อยด้วยระบบการเชื่อมแบบCO2 ที่สำคัญมีความแข็งแรงมากว่าการเชื่อมเหล็กแบบธรรมดาทั่วไปถึง 2 เท่า
2.การเจียร์ขัดเหล็กดัดและพ่นเคลือบน้ำยาเคมี
เมื่อเหล็กดัดขึ้นโครงสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงกระบวนการเจียร์ขัดเหล็กดัด โดยเริ่มจากการเจียร์ขัดแบบหยาบก่อน พอเสร็จแล้วก็ถึงจะมาเจียร์ขัดแบบละเอียดอีกครั้ง เพื่อทำให้งานเหล็กดัดเวลาอบสีเสร็จออกมาจะทำให้สีพื้นของเหล็กดัดเรียบเนียนดูสวยงาม
เมื่อผ่านขั้นตอนการเจียร์ขัดเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็มาถึงกระบวนการฉีดพ่นเคลือบน้ำยาสารเคมี เช่น คาร์บอน เรซิ่น กันสนิม และเคมีอื่นๆหลายชนิด ก่อนทำสีอบเหล็กดัดทุกครั้ง จะทำให้สีอบอายุการใช้งานยาวนาน ทนต่อการขูดขีด และ แรงกระแทกได้สูง ทำให้ชิ้นงานคงทนไม่ลอกร่อน ไม่เกิดรอยกระเทาะได้ง่ายๆ และสามารถทนต่อการกัดกร่อน ของสารเคมีต่างๆได้เป็นอย่างดียิ่งขึ้น (การทำสีอบจำเป็นต้องผ่านกระบวนเคลือบน้ำยาเคมีทุกครั้ง)
หมายเหตุ การทำสีอบ(POWDER COATING)ที่ไม่ผ่านกระบวนการเคลือบน้ำยาเคมี จะทำให้เนื้อผิวสีอบไม่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญก่อให้เกิดเป็นสนิม ทำให้สีหลุดล่อนกระเทาะได้ง่าย ทำให้อายุการใช้งานน้อยลง
3.กระบวนการพ่นสีฝุ่นและอบสีเหล็กดัด (POWDER COATING)
การพ่นสีฝุ่น(POWDER COATING)เราต้องพ่นให้ทางจากเหล็กดัดประมาณ 15 ซม. สีที่พ่นจะออกเป็นฝุ่น ก่อนที่เราจะพ่นเราจะหนีบไฟฟ้ากับเหล็กดัดก่อน เพื่อให้เหล็กดัดมีไฟฟ้าสถิตอยู่ เพื่อที่สีฝุ่นจะได้เกาะกับชิ้นงาน เหล็กดัดจะสวยหรือไม่สวยที่นี้ก็อยู่กับชิ้นงาน ว่าเรียบไหมไม่มีรอยขรุขระ ถ้าชิ้นงานไม่เรียบ เวลาที่เราเข้าตู้อบชิ้นงานออกมาก็จะไม่เรียบเหมือนกัน ถ้าชิ้นงานเรียบเวลาอบออกมาก็จะดูสวยงาม
การอบสี(POWDER COATING)การอบเป็นขั้นตอนที่สำคัญเหมือนกัน เพราะเวลาเราย้ายชิ้นงานตู้นั้นต้องระมัดระวังไม่ให้อะไรไปถูกชิ้นงาน เพราะถ้าถูกแล้วสีฝุ่นที่เราพ่นไปจะหลุดออกชิ้นงาน เวลาอบออกมาสีที่เป็นรอยจะไม่ติดกับชิ้นงานอันนี้เราจะระวังมาก พอเข้าตู้อบแล้วเราจะอบในอุณหภูมิ 180 องศา ในเวลา 15-20 นาที แล้วก็เข้าชิ้นงานออกมาพักไว้
4.การประกอบชุดเสริมรางมุ้งบานเลื่อนพิเศษ ในชุดของเหล็กดัดครอบใน
1.เตรียมตัดเฟรมบน-ล่างรางคู่ ตัดเท่าขนาดภายในกรอบเหล็กดัดแล้ววางลงทาบติดกับกรอบเหล็กดัด แล้วใช้เครื่องสว่านและใช้ดอกเจาะสว่าน 9/4 เจาะผ่านเฟรมรางมุ้งและกรอบเหล็กดัด เสร็จแล้วยึดติดด้วยเม็ดยึด(รีเวต) 4-2 ทั้งรางบนและล่าง
2.ขั้นตอนนี้จะต้องกำหนดมุ้งบานเลื่อนสลับ ว่าบานไหน จะอยู่ซ้ายหรือขวา พอกำหนดได้แล้วให้เตรียมเฟรมข้างรับหน้ามุ้ง แล้ววัดตัดเข้ารูป แล้วยึดด้วยเม็ดรีเวต 4-2 ยึด 3 จุดก็พอ
3.เตรียมวัดตัดมุ้ง ขั้นตอนนี้จะต้องวัดความสูงก่อน โดยใช้สายวัดสอดเข้าไปในเฟรมบน ให้ปลายสายวัดชนกับสันรางเฟรมบน แล้วดึงสายวัดลงมาขนานเฟรมล่าง แล้วมองระยะสายวัดถึงสันรางเฟรมล่างเท่าไร แล้วจึงกำหนดการตัด ส่วนความกว้างให้วัดภายในกรอบวงกบเหล็กดัด ได้ความกว้างแล้วหารด้วย 2 แล้วบวก 2 ซ.ม. แล้วตัดกรอบมุ้ง
4.ขั้นตอนใส่มุ้งบานเลื่อน ใส่มุ้งบานเลื่อนด้านในก่อน หมายถึง รางมุ้งที่ 1 ติดกับลายเหล็กดัด แล้วใส่มุ้งบานเลื่อน ส่วนด้านนอก รางมุ้งที่ 2 ด้านนอก แล้วปรับระดับความตึง โดยเฉพาะด้านล่างของกรอบมุ้ง ควรปรับระดับให้ด้านล่างเกือบชิดเฟรมล่าง เพื่อไม่ให้แมลงเข้ามาได้
5.ใส่ฉากกันยูงที่ด้านหลังบานรางมุ้งที่ 2 แล้วตัดฉากกันยูงตามขนาดเท่ากับตัดความสูงของมุ้งและผ่าเจาะรูปรับระดับมุ้งให้ตรงกับรูกรอบมุ้ง แล้วใส่สักหลาดกันยุงในร่อง เสร็จประกอบฉากกันยูง ไปที่กรอบมุ้ง แล้วตรวจดูว่ารูตรงกับกรอบบานหรือไม่
หมายเหตุ วัสดุและอุปกรณ์สรรค์สร้างจากแนวคิด ได้รับสิทธิบัตร ในการออกแบบผลิตภัตภัณฑ์ โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
5.การติดตั้ง ชุดเหล็กดัดครอบในพร้อมมุ้งบานเลื่อน
ติดตั้งด้านในตัวบ้าน ปลอดภัยกว่าติดตั้งด้านนอกบ้านและโอกาสจะเกิดสนิมของเหล็กดัดมีน้อยมาก นูนจากผนัง 2 นิ้วขึ้นไป ไม่ติดปัญหาเรื่องการติดตั้งผ้าม่าน ยกเว้นยี่ห้อหน้าต่างบางชนิดที่อุปกรณ์นูนจากผนักจำพวกมือจับและระบบล็อค มีมุ้งบานบานเลื่อนอยู่ในชุดเดียวกับเหล็กดัด ข้อสังเกตง่ายๆถ้ามองจากในบ้านจะเจอมุ้งบานเลื่อนก่อนเหล็กดัดอยู่ตรงกลาง แล้วถึงจะเป็นหน้าต่างกระจกบานเลื่อน เพราะโดยส่วนใหญ่หน้าต่างกระจกบานเลื่อนจะมีรางมุ้งมาให้อยู่แล้ว
ถ้าใช้งานรางมุ้งบานเลื่อนที่มีมาให้ ถ้าจะติดเหล็กดัดคือติดด้านนอกตัวบ้านเท่าที่รู้กันอยู่ คือ
1.ง่ายต่อการถอดและงัดแงะ
2.ง่ายแก่การเกิดสนิม ทำให้เหล็กผุ อายุการใช้งานน้อย
3.หน้าต่างบานเลื่อนไม่ควรเอาเหล็กดัดไปยึดติดตั้งด้านนอกเพราะ
ถ้าบ้านไม่ได้ทำเหล็กดัดชั้นบนก็สามารถปีนเหล็กดัดขึ้นไปชั้นบนได้
4.ทำให้บดบังความสวยงามของกระจกอลูมิเนียม